วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การไหว้

" ไปลา-มาไหว้ " มารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย
เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน “การไหว้” เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า “สวัสดี” แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย “การขอบคุณ” และ “การขอโทษ” การ ไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งนับวันจะค่อย ๆ เลือนลางออกไปจากสังคมไทย ด้วยเยาวชนไทยส่วนใหญ่ รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมายึดถือปฏิบัติ เช่น การทักทายกันด้วยการจับมือ ด้วยการผงกหัวหรือพยักหน้าต้อนรับกัน โดยปกติความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นวัฒนธรรมไทยที่แสดงความเคารพด้วยการไหว้ผู้อาวุโส หรือการรับไหว้ผู้อาวุโสน้อย ปัจจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมที่เกิดเฉพาะกลุ่ม แทนที่จะเป็นวัฒนธรรมในสังคมของคนทุกชนชั้นด้วย สาเหตุที่เยาวชนไทย มองข้ามวัฒนธรรมไทยที่ดีงามถูกต้อง มารยาทในสังคมไทยจึงผิดเพี้ยนไป สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดการเผยแพร่ความรู้เรื่องมารยาทไทยอย่างต่อเนื่อง และได้หยิบยกมารยาทในการพบปะสมาคม ในสังคมที่สำคัญมีดังนี้




สมเด็จพระราชาธิบดี ซิงเย จิกมี วังซุก
1. การรู้จักวางตน ต้อง เป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมี และไม่ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่ แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม

2. การรู้จักประมาณตน มี ธรรมของคนดี 7 ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่าง คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า “จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน”

3. การรู้จักการพูดจา ต้อง ไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูด ที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคม และไม่คุยเสียงดัง หรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้

4. การรู้จักควบคุมอารมณ์ คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช่อารมณ์รุนแรง เพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบเป็นคุณลักษณะที่สำคัญ อย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ทำลายข้าวของ ไม่พูด และแสดงกิริยาประชดประชัน หรือส่อเสียด

5. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะ ที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน
6. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถ และไม่เหมาะสมกับ

7. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน การ อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้อง มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำคัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม

8. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันในสังคม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีอุดมการณ์สำคัญคือ “การช่วยเหลือผู้อื่น” พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ความว่า “จงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด” การ ยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงกราบ สมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชินีนาถ



นางสาว สุพาวรรณ อุดมศักดิ์ 5131202084

นางสาววาลย์นภา สารวาท 5131202044

นายพีรพงศ์ ธีระภา 5131202035

นางสาวจิรัญญา รัตนพรนภาพันธ์ 5131202010

นางสาวสามขวัญ ปิงวงศ์ 5131202051

นายเอื้อ สุทธิสมบูรณ์ 5131202058

นาย ธราดล บุญธราทิพย์ 5131202092

นางสาวทิพย์สุคนธ์ กันทะเตียน 5131202067

นางสาวมิรินทร์ คำเงิน 5131202076

นางสาวศุภลักษณ์ ทองพันธ์ 5131202049

นางสาวนัยนา สุขะปานนท์ 5131202025

นางสาวเกศกัลยา ชัยเพียรเจริญกิจ 5131202007

นางสาวภรณี ดุลณกิจ 5131202037อกส

ารอ้างอิง หนังสือคู่มือวัฒนธรรมวิถีชีวิตไทย โดยอาจารย์กนก จันทร์ขจร
เว็บไซด์
campus.sanook.com/teen_zone/senior_02604.php
www.oknation.net/blog/print.php?id=69415
http://i130.photobucket.com/albums/p258/tunyai/-1.jpg